ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletหน้าหลัก
dot
ดู ... สินค้า เชลล์ ปตท. โมบิล ฟุคส์ จารบีเทรน จารบีSKF และอื่นๆ
dot
bulletสินค้า เชลล์ Shell
bulletสินค้า เชลล์ Shell Consumer สำหรับรถยนต์
bulletสินค้า โมบิล ExxonMobil
bulletสินค้า ปตท. PTT
bulletสินค้า ฟุคส์ ฟู้ดเกรด Fuchs Food Grade
bulletสินค้า เทรน Trane
bulletสินค้า จารบี SKF
bulletสินค้า น้ำมันตัดกลึงโลหะ (เชลล์ เดิม) ฮาวท์ตัน Houghton MWF
bulletสินค้า โอมาก้า OMEGA และ อื่นๆ
dot
การขอใบเสนอราคา สำหรับลูกค้าทั่วไป
dot
bulletการขอใบเสนอราคา
dot
คู่มือ...การเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่น และ จารบี เชลล์ Shell
dot
bulletน้ำมันไฮดรอลิค เชลล์ Shell
bulletน้ำมันเกียร์อุตสาหกรรม เชลล์ Shell
bulletน้ำมันหล่อลื่น เชลล์ Shell สำหรับเครื่องอัดอากาศ เครื่องมือลม เครื่องจักรไอน้ำ
bulletน้ำมันหล่อลื่น เชลล์ Shell สำหรับงานอุตสาหกรรมอื่นๆ
bulletจารบี เชลล์ Shell สำหรับงานอุตสาหกรรม
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล เชลล์ Shell
bulletจารบี เชลล์ Shell สำหรับยานยนต์
bulletน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายยานยนต์ เชลล์ Shell
bulletน้ำมันเกียร์อัตโนมัติและระบบส่งกำลังสำหรับยานยนต์ เชลล์ Shell
bulletน้ำมันเบรค และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ สำหรับยานยนต์ เชลล์ Shell
dot
สินค้าแนะนำ เชลล์ Shell
dot
bulletShell Tellus S3 M น้ำมันไฮดรอลิคที่มีอายุการใช้งานนานกว่า...
bulletShell Omala S4 WE น้ำมันเกียร์สังเคราะห์ พิเศษสุด สำหรับเกียร์ตัวหนอน ที่เน้นเรื่อง...ความลื่นเป็นพิเศษ
bulletShell Stamina EP จาระบีพิเศษ มีคุณภาพเหนือกว่า จาระบีทั่วไป
dot
คู่มือ...เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่น และ จารบี สำหรับงานอุตสาหกรรมอาหาร ฟุคส์ ฟู้ดเกรด Fuchs Food Grade
dot
bulletผลิตภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่น และ จารบี สำหรับงานอุตสาหกรรมอาหาร ฟุคส์ ฟู้ดเกรด Fuchs Food Grade
dot
สาระน่ารู้
dot
bulletการสำรวจและขุดเจาะ
bulletน้ำมันดิบและการกลั่น (1)
bulletน้ำมันดิบและการกลั่น (2)
bulletแรงเสียดทาน คือ อะไร
bulletเกียร์ (Gear)
bulletการสึกหรอ (Wear)
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลอย่างสม่ำเสมอในขณะใช้งาน
bulletข้อควรปฏิบัติในการป้องกัน เครื่องจักรกล ไม่ให้เกิดการเสียหาย
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
bulletคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล Diesel Engine
bulletความสำคัญของระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
bulletการพิจารณาเปลี่ยนน้ำมันใหม่
bulletการถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
bulletน้ำมันหล่อเย็น Cutting Fluids
bulletอุปกรณ์ต่างๆในระบบ เครื่องทำความเย็น
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องอัดอากาศ Compressor
bulletน้ำมันชุบเหล็ก
bulletประเภทของงานในการชุบเหล็กด้วยน้ำมัน
bulletลักษณะการเย็นตัวของเหล็กชุบแข็งในของเหลว
bulletการเตรียมเครื่องเทอร์ไบน์ Turbine
bulletตรวจสอบน้ำมันเทอร์ไบน์ขณะใช้งาน Turbine
bulletการหล่อลื่น เครื่องมือที่ขับเคลื่อนโดย กำลังดันลม
bulletการออกแบบระบบอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนและการใช้งาน Heat Transfer
bulletการตรวจสภาพน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว-การวัดค่าความเป็นกรด TAN
bulletการตรวจสภาพน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว-จุดวาบไฟ-น้ำ-ค่าตะกอน
bulletการผสมตัว ระหว่างน้ำมันหล่อลื่นกับน้ำยาเครื่องทำความเย็น Refrigerant
bulletมาตรฐานน้ำมันเบรค
bulletจุดเดือดน้ำมันเบรคมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคอย่างไร?
bulletการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่น
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (1)
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (2)
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (3)
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (4)
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (5)
bulletการขจัดน้ำมันหล่อลื่นที่หมดอายุใช้งาน
bulletแบริ่ง Bearings ชนิดต่างๆ
bulletปัจจัยกำหนดราคาน้ำมัน ในตลาดโลก
bulletหน้าที่และคุณสมบัติ ของ น้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้า และ สวิทช์เกียร์
bullet40 พฤติกรรมช่วยประหยัดน้ำมัน
bulletน้ำมันหล่อลื่นฟู้ดเกรด Food Grade Lubricants คืออะไร ?
bulletข้อควรรู้ของผลิตภัณฑ์หล่อลื่น ฟู้ดเกรด Food Grade Lubricants
bulletGMP คืออะไร (1)
bulletGMP คืออะไร (2)
bulletGMP คืออะไร (3)
bulletHACCP คืออะไร ? (1)
bulletHACCP คืออะไร ? (2)
bulletHACCP คืออะไร ? (3)
bulletน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานมีกี่ประเภท
bulletการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นให้ถูกต้อง
bulletสารเพิ่มคุณภาพ (Additive)
bulletความหนืดนั้นสำคัญไฉน
bulletความหนืดของ น้ำมัน เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
bulletดัชนีความหนืดคือ...
bulletจาระบีคืออะไร?
bulletการพิจารณาเลือกใช้ จาระบี
bulletข้อแนะนำในการอัด จาระบี แบริ่งลูกปืน
bulletน้ำมันหล่อลื่นเสื่อมสภาพได้อย่างไร
bulletหากดูแลเรื่องน้ำมัน ต้องรู้จักปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
bulletการเก็บรักษา น้ำมันหล่อลื่น อย่างไรให้ถูกวิธี
bulletข้อแนะนำในการเก็บ ตัวอย่าง น้ำมันหล่อลื่น
bulletน้ำมันหล่อลื่น เครื่องเทอร์ไบน์ไอน้ำ
bulletน้ำมันไฮดรอลิค
bulletการบำรุงรักษา ระบบไฮดรอลิค
bulletน้ำมันเกียร์อุตสาหกรรมและหน้าที่ของน้ำมันเกียร์
bulletทำไมน้ำมันต่างชนิดกัน จึงผสมกันไม่ได้?
bulletน้ำมันเครื่องปลอมคืออะไร
bulletทำไมระบบเบรคจึงไม่ใช้น้ำมันไฮดรอลิค?
bulletปัญหาที่มักพบในระบบไฮดรอลิค
bulletประเภทและหน้าที่ของน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายยานยนต์
bulletเตรียม น้ำมันตัดกลึง ชนิดผสมน้ำ อย่างไรถึงจะถูกวิธี
bulletขบวนการเปลี่ยนสภาพ (Reforming)
bulletขบวนการแยกสลายคือ...
bulletน้ำมันดิบ มาจากไหน
bulletน้ำมันดิบ และ การกลั่น
bulletการสำรวจและขุดเจาะ
bulletการขจัดน้ำมันหล่อลื่นที่หมดอายุใช้งาน
bulletข้อควรปฏิบัติในการป้องกัน เครื่องจักรกล ไม่ให้เกิดการเสียหาย
bulletการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่น
bulletการพิจารณาเปลี่ยนน้ำมันใหม่
bulletตรวจสอบน้ำมันเทอร์ไบน์ขณะใช้งาน
bulletการเตรียมเครื่องเทอร์ไบน์
bulletประเภทของงานในการชุบเหล็กด้วยน้ำมัน
bulletลักษณะการเย็นตัวของเหล็กชุบแข็งในของเหลว
bulletน้ำมันชุบเหล็ก
bulletการออกแบบระบบอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนและการใช้งาน
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลอย่างสม่ำเสมอในขณะใช้งาน
bulletจุดเดือดน้ำมันเบรคมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคอย่างไร?
bulletความสำคัญของระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
bulletคอมเพรสเซอร์
bulletเครื่องยนต์ดีเซล
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
bulletคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
bulletเกียร์ (Gears)
bulletแรงเสียดทาน คืออะไร
bulletจุดวาบไฟ (Flash Point) น้ำ (Water) สิ่งสกปรกที่เป็นของแข็ง (Sediment)
bulletจุดเดือดน้ำมันเบรคมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคอย่างไร?
bulletการสึกหรอ (Wear)
bullet40 พฤติกรรมช่วยประหยัดน้ำมัน
bulletปัจจัยกำหนดราคาน้ำมัน ในตลาดโลก
bulletการถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง
bulletทำไมจึงเจาะจงน้ำมันเครื่องสูตรสังเคราะห์
bulletน้ำมันหล่อเย็น (Cutting Fluid)


ประเภทและหน้าที่ของน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายยานยนต์

 น้ำมันเกียร์

 

1. น้ำมันเกียร์มีการแบ่งเกรดตามการใช้งานอย่างไร

ประเภทของน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายตามมาตรฐานของ API แบ่งได้ดังนี้

  • GL – 1 เป็นการใช้งานของเกียร์ประเภทเฟืองเดือยหมู เฟืองหนอน ในสภาพงานเบา โดยไม่จำเป็นต้องเติมสารเพิ่มคุณภาพ
  • GL – 2 ใช้สำหรับงานของเกียร์ประเภทเฟืองหนอน เพลาล้อ ซึ่งเป็นงานหนักกว่าประเภท GL – 1 น้ำมันที่ใช้ควรมีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อป้องกันการสึกหรอ
  • GL – 3 ใช้สำหรับงานของเกียร์ประเภทเฟืองเดือยหมูและกระปุกเกียร์ที่มีสภาพความเร็ว และการรับแรงขนาดปานกลาง ใช้น้ำมันที่มีสารเพิ่มคุณภาพแรงกดขนาดสูงปานกลาง
  • GL – 4 ใช้สำหรับสภาพงานของเกียร์ประเภทเฟือง ไฮปอยด์ (hypoid) ที่ทำงานหนักปานกลางมีคุณลักษณะของการทำงานขั้น MIL – L-2105
  • GL – 5 ใช้สำหรับสภาพงานของเกียร์ประเภทเฟืองไฮปอยด์ ที่ทำงานหนักมากและมีคุณลักษณะของงานขั้น MIL – L-2105B, C หรือใกล้เคียงกับ MOT CS 3000B (มาตรฐานของอังกฤษ)
  • 1.6 GL – 6 ใช้สำหรับงานของเกียร์ประเภทเฟืองไฮปอยด์ที่มีแนวเยื้องศูนย์กลางมากกว่า 2.0 นิ้ว และประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเฟืองตัวใหญ่และมีความเร็วสูง เช่น Ford M2C105A
  • 1.7 ส่วนประเภทน้ำมันเกียร์ตามมาตรฐานทางการของสหรัฐอเมริกาขณะนี้มีอยู่อย่างเดียวคือ MIL – L-2105C ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า MIL – L-2105 ในด้านที่ว่าสามารถรับแรงกดได้สูงกว่า มีอายุการใช้งานนานกว่า น้ำมันเกียร์ MIL – L-2105C เป็นน้ำมันหล่อลื่นอเนกประสงค์ใช้กับเฟืองยานยนต์ทั่วไปที่ต้องรับแรงกดสูง มีแรงกระแทกและอัตราความเร็วสูง MIL – L-2105 ถึงแม้จะยกเลิกเป็นทางการแล้ว แต่ในวงการอุตสาหกรรมก็ยังอ้างถึงอยู่


2. น้ำมันเกียร์แบ่งตามความข้นใส

สมาคมวิศวจักรยานยนต์ได้ตั้งมาตรฐานสำหรับกำหนดความข้นใสของน้ำมันเกียร์ไว้ดัง (ตาราง 2.1)

ตารางที่ 2.1 การกำหนดความข้นใสของน้ำมันเกียร์ตามมาตรฐาน SAE J306

ระดับ SAE

อุณหภูมิสูงสุดที่ความข้นใส 
150,000 cP (°C)

ค่าความข้นใส

ที่อุณหภูมิ 100c (cSt)

ที่อุณหภูมิ 210 °F (SUS)

75W

- 40

สูงกว่า 4.1

40-49

80W

- 26

สูงกว่า 7.0

49-63

85W

- 12

สูงกว่า 11.0

63-74

90

-

13.5-24.0

74-120

140

-

24.0-41.0

120-200

250

-

สูงกว่า 41.0

สูงกว่า 200

ตารางที่ 2.2 การกำหนดความข้นใสของน้ำมันเกียร์ตามมาตรฐาน MIL – L-2105C

ระดับ SAE

อุณหภูมิสูงสุดที่ความข้นใส 
150,000 cP

ค่าความข้นใสที่ 100c (cSt)

75 W
80 W/ 90
85 W/140

- 40
- 26
- 12

สูงกว่า 4.1
13.5 – 24.0
24.0 – 41.0


รูป ไดอะแกรมเปรียบเทียบค่าความข้นใสของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์กับน้ำมันเกียร์ตามมาตรฐานของ SAE

 

 


3. สารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเกียร์มีสารอะไรบ้าง

สารเพิ่มคุณภาพสำหรับน้ำมันเกียร์ น้ำมันหล่อลื่นระบบส่งกำลัง เกียร์ และเฟืองท้ายของยานยนต์จะต้องมีสารเพิ่มคุณภาพที่จำเป็น อย่างน้อยก็ต้องมีสารเพิ่มคุณภาพต่อไปนี้

3.1 สารป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน

3.2 ป้องกันการเกิดฟองในน้ำมัน การเกิดฟองในน้ำมันหล่อลื่นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เพราะทำให้ประสิทธิภาพหล่อลื่นลดลง จึงมีการเติมสารเคมีบางอย่างลงไปเพื่อป้องกันการเกิดฟองในน้ำมันซึ่งเนื่องมาจากความเร็วของชิ้นงานที่ตีกวนน้ำมันด้วยความเร็วสูง สารเคมีที่ป้องกันการเกิดฟองในน้ำมันอาจใช้พวกซิลิโคนโพลีเมอร์หรือโพลีเมทิลไซโลแซน ถ้าใช้สารนี้ที่มีความเข้มข้นสูงจะต้องใช้ในปริมาณน้อยกว่า 0.001 เปอร์เซ็นต์

3.3 สารช่วยรับแรงกดสูง คุณสมบัตินี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับน้ำมันหล่อลื่นที่จะต้องถูกนำไปใช้ในสภาวะที่มีการหล่อลื่นแบบกึ่งสมบูรณ์และในสภาพที่มีแรงกดมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดการเสียดสีที่รุนแรงและมีความร้อนสูง คุณสมบัติเหล่านี้ได้มาโดยการเติมสาร EP จะแตกตัวออกมา ธาตุเหล่านี้ได้แก่ กำมะถัน คลอรีน ฟอสฟอรัส และไอโอดีน ซึ่งเป็นธาตุที่ไวต่อปฏิกิริยาทางเคมีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ธาตุที่แตกตัวออกจากสารประกอบนี้ จะเข้าทำปฏิกิริยากับเนื้อโลหะทันทีเกิดเป็นสารประกอบใหม่ระหว่างโลหะและธาตุนั้น และจะช่วยเคลือบผิวของโลหะที่มีการเสียดสีกันนั้นไว้ได้สารประกอบใหม่นี้จะทนต่อแรงกดอัดและความร้อนได้สูงมาก ดังนั้นเมื่อเกิดสารนี้ขึ้นแล้วจึงสามารถช่วยป้องกันการสึกหรอได้เป็นอย่างดี สาร EP เหล่านี้ได้แก่

·         สารประกอบของกำมะถันหรือฟอสฟอรัส

·         เลดแนพธีเนต (lead naphthenate)

·         เลด โซฟ (lead soap)

·         โพลาร์แฟตตี้ออยล์ (polar fatty oil)

จะเห็นได้ว่าสาร EP ที่ใส่ลงไปในน้ำมันหล่อลื่นจะทำงานได้ดีเฉพาะที่อุณหภูมิสูง ๆ เท่านั้นในกรณีที่แรงอัดแลการเสียดสีไม่มากหรือรุนแรงพอที่จะทำให้เกิดอุณหภูมิเฉพาะจุดที่สูงพอที่จะเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวข้างต้นได้ สารเคมีเหล่านี้ก็จะไม่ทำหน้าที่ของมัน สารเหล่านี้จึงมีประโยชน์เฉพาะกรณีที่สัมผัสต้องรับแรงที่สูงมาก เป็นจุด ๆ และที่ ๆ มีเสียดสีมากเท่านั้น เช่น ในกรณีของเฟืองเกียร์แบบไฮปอยด์ที่ใช้เป็นเฟืองท้ายของรถยนต์และรถบรรทุกซึ่งต้องการน้ำมันเกียร์แบบมีสาร EP เหล่านี้ รถที่สร้างในระยะหลัง ๆ จึงมีอัตราทดที่เฟืองท้ายสูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์นั่งที่ทำเพลาส่งไว้เอียงมาก ๆ ในการส่งกำลังจากห้องเกียร์ไปยังเฟืองท้ายจะทำให้เฟืองไฮปอยด์ตัวขับและตัวตามต้องเยื้องศูนย์ไปมากการเสียดสีและการงัดกัน(interference)ของฟันเกียร์จะมีในอัตราที่สูงมาก จึงจำเป็นต้องใช้เกียร์ที่มีสาร EP เหล่านี้

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า สาร EP มีประโยชน์เฉพาะในที่จำเป็นเท่านั้น ในที่ที่ไม่จำเป็น สารเหล่านี้นอกจากจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นมีราคาแพงขึ้นโดยใช่เหตุแล้ว ยังอาจเป็นโทษด้วย ทั้งนี้เพราะสาร EP เป็นสารประกอบของธาตุที่ไวต่อปฏิกิริยาทางเคมีมาก ดังนั้นจึงสามารถเกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อโลหะบางอย่างได้ในกรณีที่ธาตุนั้น ๆ แตกตัวออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลหะประเภททองเหลือง ทองแดง บรอนซ์ และพวกโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (non-ferrous) ทั้งหลายอาจถูกทำลายได้โดยง่ายจากปฏิกิริยาของสาร EP ที่เป็นสารประกอบของกำมะถันหรือคลอรีน นอกจากนั้นในกรณีที่มีน้ำหรือความชื้นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สารเหล่านี้จะแปรสภาพเป็นกรดที่กัดกร่อนโลหะได้ เนื่องจากการทำปฏิกิริยากับน้ำ ดังนั้นในการผลิตน้ำมันหล่อลื่นที่ผสมสาร EP สำหรับงานหล่อลื่นของเครื่องจักรแต่ละประเภท ผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงโลหะที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ด้วยว่า สามารถทนต่อปฏิกิริยาของสารเคมีเหล่านี้ได้หรือไม่ และทนได้ในระดับมากน้อยเพียงใด

สาร EP ที่ผลิตขึ้นมาจากสารประกอบของธาตุต่างชนิดกันจะให้คุณสมบัติในการต้านทานแรงกดสูงไม่เท่ากัน และนอกจากนั้นปฏิกิริยาของธาตุที่แตกตัวออกมาจากสารประกอบเหล่านี้เพื่อที่จะทำปฏิกิริยากับผิวของโลหะในระหว่างการเสียดสี เพื่อเคลือบผิวโลหะนั้น ๆ ยังมีไม่เท่ากันอีกด้วย เช่น สารประกอบของธาตุกำมะถันให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการสึกหรอดีมาก และทนอุณหภูมิได้สูงถึง 650 องศาเซลเซียส แต่ใช้ไม่ค่อยได้ผลนักกับโลหะประเภทเหล็กที่มีส่วนผสมของโครเมี่ยมสูง สารประกอบของธาตุคลอรีนให้ผลดีกับโลหะประเภทดังกล่าวในระดับอุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส ส่วนฟอสฟอรัสให้ผลดีกับโลหะบางชนิดในระดับอุณหภูมิไม่เกิน 180 องศาเซลเซียส เป็นต้น ดังนั้นจึงได้มีการผสมสาร EP เหล่านี้หลายตัวลงไปในน้ำมันหล่อลื่นแต่ละชนิดในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน ซึ่งมีผลทำให้ระดับการต้านทานแรงกดอัดสูงต่างกันไปด้วย

 

 

 Download

 

 

 

 

Siam Global Lubricant Co.,Ltd.

13,15 ซอยเจริญกรุง 3 ถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

โทรศัพท์ : 0-2622-1700-3 โทรสาร : 0-2622-1704

E-mail : sales@sgl1.com  facebook : https://www.facebook.com/SiamGlobalLubricant

เวลาทำการ : วันจันทร์-เสาร์ 8.30-17.30น.หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

นอกเวลาทำการ : ติดต่อสายด่วน 089-6612991

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท สยาม โกลบอล ลูบริแคนท์ จำกัด

สำนักงาน: 105/400-401 หมู่4 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000

โทร : 098-9192463 ,089-6612991 ,02-4032562-3 แฟกซ์ : 02-4032564