คอมเพรสเซอร์
คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มความดันให้กับก๊าซหรือส่วนผสมของก๊าซ เช่น อากาศ แล้วสามารถส่งผ่านก๊าซหรืออากาศที่ถูกอัดนี้ไปยังสถานที่ที่จะใช้งาน เช่น เครื่องมือที่ขับด้วยกำลังลม เครื่องมือฉีดพ่นของเหลว เครื่องสูบลม หรือเครื่องอัดจารบี การอัดก๊าซเพื่อให้สามารถเก็บในถังเก็บก๊าซได้เป็นปริมาณมากไม่ว่าจะอยู่ในรูปของก๊าซหรือของเหลว เครื่องคอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่ถูกใช้ในการอัดและส่งก๊าซธรรมชาติ ใช้ในโรงงานเหล็กและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
เมื่อก๊าซถูกอัด อุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นสัดส่วนกับแรงอัด ดังนั้นการอัดก๊าซความดันสูงอุณหภูมิของก๊าซจะสูงมาก เครื่องคอมเพรสเซอร์อัดก๊าซบางชนิดจึงถูกออกแบบให้สามารถอัดก๊าซได้หลายขั้นตอน และในแต่ละขั้นตอนก๊าซที่ถูกอัดจะถูกช่วยระบายความร้อนออกไป คอมเพรสเซอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.แบบลูกสูบ (Reciprocating)
2.แบบโรตารี่ (Rotary Positive Displacement)
3.แบบใช้แรงเหวี่ยงและไหลตามแกน (Centrifugal & Axial Flow)
คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
ใช้วิธีการอัดก๊าซโดยการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของตัวลูกสูบในกระบอกสูบ มีน้ำแบบอัดก๊าซด้านเดียว (Single-Acting) และอัดก๊าซได้สองด้าน (Double-Acting) นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นแบบลูกสูบเดี่ยวหรือลูกสูบหลายลูก จัดเรียงลำดับเป็นแนวเดียวกัน หรือเป็นแบบรูปตัววีหรือดับเบิ้ลยู เป็นต้น
คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
ก๊าซจะถูกดูดเข้ามาในระบบแล้วจึงถูกอัดผ่านใบพัดหรือสกรูก่อนที่จะถูกส่งออกไปใช้งาน คอมเพรสเซอร์แบบนี้ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นแบบใบพัดเลขแปด (Straight Lobe), แบบสกรู (Screw) และแบบแผ่นเลื่อน (Sliding Vane)
คอมเพรสเซอร์แบบใช้แรงเหวี่ยงและไหลตามแกน
ใช้วิธีการเพิ่มพลังงานจลน์กับก๊าซในรูปของความเร็ว แล้วเปลี่ยนพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานศักย์ที่ทางออกในรูปของความร้อน
การหล่อลื่นในเครื่อง คอมเพรสเซอร์
วิธีการหล่อลื่นในเครื่อง คอมเพรสเซอร์ แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดหรือลักษณะการออกแบบของ คอมเพรสเซอร์ นั้น
การหล่อลื่นใน คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การหล่อลื่น ในกระบอกสูบและในอ่าง น้ำมัน ซึ่งโดยทั่วไปคุณสมบัติของ น้ำมัน ที่จะใช้ใกล้เคียงกัน เว้นเสียแต่ว่า น้ำมันหล่อลื่น ที่ใช้ในกระบอกสูบจะต้องไม่ทำปฏิกิริยากับก๊าซที่จะอัด
คุณสมบัติที่สำคัญของ น้ำมัน ที่ใช้กับ เครื่องคอมเพรสเชอร์แบบลูกสูบ นั้นจะต้องมีโอกาสเกิดเขม่าต่ำเพราะการรวมตัวของเขม่าไปเกาะอยู่ตามระบบทางจ่ายอากาศหรือก๊าซที่ถูกอัด จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟลุกไหม้หรือ คอมเพรสเซอร์ ระเบิดได้ ดังนั้น น้ำมันหล่อลื่น คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบมักทำด้วย น้ำมันพื้นฐาน ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างดีผสมด้วยสารเพิ่มคุณภาพ ป้องกันปฏิกิริยาอ็อคชิเดชั่น ป้องกันการสึกหรอและการกัดกร่อน เป็นต้น
การหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่
มีวิธีการหล่อลื่นได้ 2 แบบ คื่อ 1. การหล่อลื่นแบบน้ำมันหยด( Drip Feed Lubricated) วิธีนี้ น้ำมันหล่อลื่น จำนวนที่เหมาะสมจะถูกฉีดหรือหยดลงไปหล่อลื่นตามชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ เช่น บริเวณแผ่นเลื่อน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นชีลช่องว่างระหว่างแผ่นเลื่อน กับผนังภายในห้องอัด หลังจากหล่อลื่นแล้ว น้ำมัน จะถูกขับออกไปพร้อมกับ ก๊าซหรืออากาศที่ถูกอัด 2.การหล่อลื่นแบบน้ำมันท่วม (Flood Lubricated) น้ำมันหล่อลื่น จำนวนหนึ่งจะถูกฉีกเข้าไปในห้องอัดเพื่อทำหน้าที่ หล่อลื่น และเป็นซีลระหว่างชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังช่วยระบายความร้อนของก๊าซหรืออากาศ่ที่ถูกอัด น้ำมัน ดังกล่าวจะถูกแยกออกจากก๊าซที่ปลายทางท่อ ทำให้เย็นลงผ่านไส้กรองแล้วถูกหมุนเวียนกลับไปใช้อีก
น้ำมัน สำหรับใช้ในการหล่อลื่นที่มีสภาวะการทำงานที่รุนแรงแบบนี้จำเป็นต้องใส่สารเพิ่มคุณภาพป้องกันปฏิกิริยาอ๊อคซิเดชั่น ทั้งนี้เพราะ น้ำมัน ต้องสัมผัสกับอากาศหรือก๊าซที่ร้อนจัดอย่ตลอดเวลาถ้าหาก น้ำมัน มีความคงทนต่อปฏิกิริยาดังกล่าวไม่ดี น้ำมัน จะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดและเกิดตะกอนยางเหนียวทำให้เกิดการกัดกร่อน ส่วนตะกอนยางเหนียวจะไปอุดต้นตามทางเดินของ น้ำมัน ทำให้แผ่นเลื่อนตายหรือติดขัด ความหนืดที่เพิ่มขึ้นจะทำให้การระบายความร้อนไม่ดี
นอกจากนี้คุณสมบัติในการป้องกันการสึกหรอการกัดกร่อน ตลอดจน น้ำมัน สามารถแยกตัวออกจากน้ำได้ดีก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ คอมเพรสเชอร์ ที่มีการอัดหลายขั้นตอนและมีระบบระบายความร้อน ความชื้นในอากาศที่ถูกอัดอาจกลั่นตัวเป็นหยดน้ำผสมลงใน น้ำมันหล่อลื่น ได้
การหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์แบบใช้แรงเหวี่ยงหรือไหลตามแกน
การหล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์ทั้ง 2 แบบนี้ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วย แบริ่งกาบ ตัว น้ำม้นหล่อลื่น ไม่ได้สัมผัสกับอากาศหรือก๊าซที่ถูกอัด และมักใช้วิธี การหล่อลื่น และฉีดหมุนเวียน ดังนั้นคุณสมบัติของ น้ำมัน ที่ต้องการจึงไม่ค่อยรุนแรงมากนัก
Download
Siam Global Lubricant Co.,Ltd.
13,15 ซอยเจริญกรุง 3 ถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : 0-2622-1700-3 โทรสาร : 0-2622-1704
E-mail : sales@sgl1.com
facebook : https://www.facebook.com/SiamGlobalLubricant
เวลาทำการ : วันจันทร์-เสาร์ 8.30-17.30น.หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
นอกเวลาทำการ : ติดต่อสายด่วน 089-6612991