ReadyPlanet.com
dot
dot dot
bulletหน้าหลัก
dot
ดู ... สินค้า เชลล์ ปตท. โมบิล ฟุคส์ จารบีเทรน จารบีSKF และอื่นๆ
dot
bulletสินค้า เชลล์ Shell
bulletสินค้า เชลล์ Shell Consumer สำหรับรถยนต์
bulletสินค้า โมบิล ExxonMobil
bulletสินค้า ปตท. PTT
bulletสินค้า ฟุคส์ ฟู้ดเกรด Fuchs Food Grade
bulletสินค้า เทรน Trane
bulletสินค้า จารบี SKF
bulletสินค้า น้ำมันตัดกลึงโลหะ (เชลล์ เดิม) ฮาวท์ตัน Houghton MWF
bulletสินค้า โอมาก้า OMEGA และ อื่นๆ
dot
การขอใบเสนอราคา สำหรับลูกค้าทั่วไป
dot
bulletการขอใบเสนอราคา
dot
คู่มือ...การเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่น และ จารบี เชลล์ Shell
dot
bulletน้ำมันไฮดรอลิค เชลล์ Shell
bulletน้ำมันเกียร์อุตสาหกรรม เชลล์ Shell
bulletน้ำมันหล่อลื่น เชลล์ Shell สำหรับเครื่องอัดอากาศ เครื่องมือลม เครื่องจักรไอน้ำ
bulletน้ำมันหล่อลื่น เชลล์ Shell สำหรับงานอุตสาหกรรมอื่นๆ
bulletจารบี เชลล์ Shell สำหรับงานอุตสาหกรรม
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล เชลล์ Shell
bulletจารบี เชลล์ Shell สำหรับยานยนต์
bulletน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายยานยนต์ เชลล์ Shell
bulletน้ำมันเกียร์อัตโนมัติและระบบส่งกำลังสำหรับยานยนต์ เชลล์ Shell
bulletน้ำมันเบรค และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ สำหรับยานยนต์ เชลล์ Shell
dot
สินค้าแนะนำ เชลล์ Shell
dot
bulletShell Tellus S3 M น้ำมันไฮดรอลิคที่มีอายุการใช้งานนานกว่า...
bulletShell Omala S4 WE น้ำมันเกียร์สังเคราะห์ พิเศษสุด สำหรับเกียร์ตัวหนอน ที่เน้นเรื่อง...ความลื่นเป็นพิเศษ
bulletShell Stamina EP จาระบีพิเศษ มีคุณภาพเหนือกว่า จาระบีทั่วไป
dot
คู่มือ...เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่น และ จารบี สำหรับงานอุตสาหกรรมอาหาร ฟุคส์ ฟู้ดเกรด Fuchs Food Grade
dot
bulletผลิตภัณฑ์ น้ำมันหล่อลื่น และ จารบี สำหรับงานอุตสาหกรรมอาหาร ฟุคส์ ฟู้ดเกรด Fuchs Food Grade
dot
สาระน่ารู้
dot
bulletการสำรวจและขุดเจาะ
bulletน้ำมันดิบและการกลั่น (1)
bulletน้ำมันดิบและการกลั่น (2)
bulletแรงเสียดทาน คือ อะไร
bulletเกียร์ (Gear)
bulletการสึกหรอ (Wear)
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลอย่างสม่ำเสมอในขณะใช้งาน
bulletข้อควรปฏิบัติในการป้องกัน เครื่องจักรกล ไม่ให้เกิดการเสียหาย
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
bulletคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล Diesel Engine
bulletความสำคัญของระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
bulletการพิจารณาเปลี่ยนน้ำมันใหม่
bulletการถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
bulletน้ำมันหล่อเย็น Cutting Fluids
bulletอุปกรณ์ต่างๆในระบบ เครื่องทำความเย็น
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องอัดอากาศ Compressor
bulletน้ำมันชุบเหล็ก
bulletประเภทของงานในการชุบเหล็กด้วยน้ำมัน
bulletลักษณะการเย็นตัวของเหล็กชุบแข็งในของเหลว
bulletการเตรียมเครื่องเทอร์ไบน์ Turbine
bulletตรวจสอบน้ำมันเทอร์ไบน์ขณะใช้งาน Turbine
bulletการหล่อลื่น เครื่องมือที่ขับเคลื่อนโดย กำลังดันลม
bulletการออกแบบระบบอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนและการใช้งาน Heat Transfer
bulletการตรวจสภาพน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว-การวัดค่าความเป็นกรด TAN
bulletการตรวจสภาพน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว-จุดวาบไฟ-น้ำ-ค่าตะกอน
bulletการผสมตัว ระหว่างน้ำมันหล่อลื่นกับน้ำยาเครื่องทำความเย็น Refrigerant
bulletมาตรฐานน้ำมันเบรค
bulletจุดเดือดน้ำมันเบรคมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคอย่างไร?
bulletการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่น
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (1)
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (2)
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (3)
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (4)
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง (5)
bulletการขจัดน้ำมันหล่อลื่นที่หมดอายุใช้งาน
bulletแบริ่ง Bearings ชนิดต่างๆ
bulletปัจจัยกำหนดราคาน้ำมัน ในตลาดโลก
bulletหน้าที่และคุณสมบัติ ของ น้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้า และ สวิทช์เกียร์
bullet40 พฤติกรรมช่วยประหยัดน้ำมัน
bulletน้ำมันหล่อลื่นฟู้ดเกรด Food Grade Lubricants คืออะไร ?
bulletข้อควรรู้ของผลิตภัณฑ์หล่อลื่น ฟู้ดเกรด Food Grade Lubricants
bulletGMP คืออะไร (1)
bulletGMP คืออะไร (2)
bulletGMP คืออะไร (3)
bulletHACCP คืออะไร ? (1)
bulletHACCP คืออะไร ? (2)
bulletHACCP คืออะไร ? (3)
bulletน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานมีกี่ประเภท
bulletการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นให้ถูกต้อง
bulletสารเพิ่มคุณภาพ (Additive)
bulletความหนืดนั้นสำคัญไฉน
bulletความหนืดของ น้ำมัน เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
bulletดัชนีความหนืดคือ...
bulletจาระบีคืออะไร?
bulletการพิจารณาเลือกใช้ จาระบี
bulletข้อแนะนำในการอัด จาระบี แบริ่งลูกปืน
bulletน้ำมันหล่อลื่นเสื่อมสภาพได้อย่างไร
bulletหากดูแลเรื่องน้ำมัน ต้องรู้จักปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
bulletการเก็บรักษา น้ำมันหล่อลื่น อย่างไรให้ถูกวิธี
bulletข้อแนะนำในการเก็บ ตัวอย่าง น้ำมันหล่อลื่น
bulletน้ำมันหล่อลื่น เครื่องเทอร์ไบน์ไอน้ำ
bulletน้ำมันไฮดรอลิค
bulletการบำรุงรักษา ระบบไฮดรอลิค
bulletน้ำมันเกียร์อุตสาหกรรมและหน้าที่ของน้ำมันเกียร์
bulletทำไมน้ำมันต่างชนิดกัน จึงผสมกันไม่ได้?
bulletน้ำมันเครื่องปลอมคืออะไร
bulletทำไมระบบเบรคจึงไม่ใช้น้ำมันไฮดรอลิค?
bulletปัญหาที่มักพบในระบบไฮดรอลิค
bulletประเภทและหน้าที่ของน้ำมันเกียร์และเฟืองท้ายยานยนต์
bulletเตรียม น้ำมันตัดกลึง ชนิดผสมน้ำ อย่างไรถึงจะถูกวิธี
bulletขบวนการเปลี่ยนสภาพ (Reforming)
bulletขบวนการแยกสลายคือ...
bulletน้ำมันดิบ มาจากไหน
bulletน้ำมันดิบ และ การกลั่น
bulletการสำรวจและขุดเจาะ
bulletการขจัดน้ำมันหล่อลื่นที่หมดอายุใช้งาน
bulletข้อควรปฏิบัติในการป้องกัน เครื่องจักรกล ไม่ให้เกิดการเสียหาย
bulletการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่น
bulletการพิจารณาเปลี่ยนน้ำมันใหม่
bulletตรวจสอบน้ำมันเทอร์ไบน์ขณะใช้งาน
bulletการเตรียมเครื่องเทอร์ไบน์
bulletประเภทของงานในการชุบเหล็กด้วยน้ำมัน
bulletลักษณะการเย็นตัวของเหล็กชุบแข็งในของเหลว
bulletน้ำมันชุบเหล็ก
bulletการออกแบบระบบอุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนและการใช้งาน
bulletการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลอย่างสม่ำเสมอในขณะใช้งาน
bulletจุดเดือดน้ำมันเบรคมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคอย่างไร?
bulletความสำคัญของระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
bulletคอมเพรสเซอร์
bulletเครื่องยนต์ดีเซล
bulletน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
bulletคุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
bulletเกียร์ (Gears)
bulletแรงเสียดทาน คืออะไร
bulletจุดวาบไฟ (Flash Point) น้ำ (Water) สิ่งสกปรกที่เป็นของแข็ง (Sediment)
bulletจุดเดือดน้ำมันเบรคมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคอย่างไร?
bulletการสึกหรอ (Wear)
bullet40 พฤติกรรมช่วยประหยัดน้ำมัน
bulletปัจจัยกำหนดราคาน้ำมัน ในตลาดโลก
bulletการถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
bulletเรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง
bulletทำไมจึงเจาะจงน้ำมันเครื่องสูตรสังเคราะห์
bulletน้ำมันหล่อเย็น (Cutting Fluid)


เรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง

 

เรื่องของเกรดน้ำมันเครื่อง

 

               ความหมายของเกรดน้ำมันเครื่องที่อยู่ข้างกระป๋องนั้นมีความสำคัญต่อการใช้งานของเครื่องยนต์เราสามารถแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องออกได้สองประเภทด้วยกันดังนี้

 -แบ่งตามความหนืด

 -แบ่งตามสภาพการใช้งาน

               การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด แบบนี้จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้งขึ้นมาทีหลังอีกด้วย พูดถึง มาตรฐาน "SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา (Society of Automotive Engineers) การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่อง แบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หมายความว่าที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น

               น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18 องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบมาก ๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส เกรด 20 W สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)

               ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรดรวม (Multi Viscosity หรือ Multi Grade) นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิต สามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมีเข้ามาผสมจนสามารถทำให้น้ำมันเครื่องนั้น ๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE ทั้งสองแบบได้เพื่อให้เกิดความหลากหลายใน

การใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกันมาก การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40 หรือ 15W-50 แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั้นแต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของเครื่องยนต์แต่ละประเภท ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API และ ASTM (American Society for Testing and Masterials) ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยก น้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น การบอกมาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50 ควบคู่กันไปด้วยแสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบ็นซินได้เทียบเท่า

              เกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50 

การกำหนดมาตราฐานของน้ำมันเครื่องตามสภาพการใช้งานนั้น สามารถแบ่งมาตรฐานของน้ำมันเครื่องโดยอ้างอิงสถาบันใหญ่ได้หลายสถาบันเช่น

-สถาบัน "API" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา

        -สถาบัน "ACEA" (เดิมเรียก CCMC) เกิดจากการรวมตัวของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรป

        -สถาบัน "JASO" เกิดจากการรวมตัวของสถาบันกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าแต่เดิมสถาบัน API


ซึ่งเคยมีบทบาทมากในอดีต และเป็นสถาบันที่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกยอมรับ ปัจจุบันในกลุ่มประเทศยุโรปและญี่ปุ่นก็ได้มีการออกมาตรฐานขึ้นมาเป็นของตนเองเช่นกัน

คำว่า "API" ย่อมาจาก "American Petroleum Institute" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกาซึ่งจะแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นตามสภาพการใช้งานเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็คือ

       -"API"ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชื้อเพลิงใช้สัญลักษณ์ "S" (Service Stations Classifications) นำหน้า เช่น SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, และ SJ

-"API"ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifi-cations) นำหน้าเช่น CA, CB, CC, CD, CD-II, CF, CF-2, CF-4, และ CG-4


เรามาดูน้ำมันเครื่งที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชื้อเพลิงกันก่อนจะใช้สัญลักษณ์ "S" และตามด้วยสัญลักษณ์แทนน้ำมันเกรดต่าง ๆ ที่แบ่งได้ตามเกรดดังต่อไปนี้

-SA สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินใช้งานเบาไม่มีสารเพิ่มคุณภาพ

-SB สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินใช้งานเบามีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย และสารป้องกันการกัดกร่อนไม่แนะนำให้ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่

-SC สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1964-1967 โดยมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน SB เล็กน้อย เช่น มีสารควบคุมการเกิดคราบเขม่า

-SD สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1968-1971 โดยมีสารคุณภาพสูงกว่า SC และมีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่า SC

-SE สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1971-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงกว่า SD และ SC และยังสามารถใช้แทน SD และ SC ได้ดีกว่าอีกด้วย

-SF สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1980-1988 มีคุณสมบัติป้องกันการเสื่อมสภาพสามารถจะทนความร้อนสูงกว่า SE และยังมีสารชำระล้างคราบเขม่าได้ดีขึ้น

-SG เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม คศ.1988 มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นกว่ามาตรฐาน SF โดยเฉพาะมีสารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน และสารชะล้าง-ละลาย และย่อยเขม่าที่ดีขึ้น

-SH เริ่มประกาศใช้เมื่อปี คศ.1994 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์อย่างรวดเร็วมีระบบใหม่ ๆ ในเครื่องยนต์ที่ถูกคิดค้นนำเข้ามาใช้ เช่น ระบบ Twin Cam, Fuel Injector, Multi-Valve, Variable Valve Timing และยังมีการติดตั้งระบบแปรสภาพไอเสีย (Catalytic Convertor) เพิ่มขึ้น

-SJ เป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ.1997 มีคุณสมบัติทั่วไปคลายกับมาตรฐาน SH แต่จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่ามีค่าการระเหย ตัว (Lower Volatility) ต่ำกว่าทำให้ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องลงและมีค่าฟอสฟอรัส (Phosphorous) ที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เครื่องกรองไอเสียใช้งานได้นานขึ้น


สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจะใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifications) และตามสัด้วยสัญลักษณ์ที่แทนด้วยน้ำมันเกรดต่าง ๆ โดยจะแบ่งตามลักษณะเครื่องยนต์ที่ใช้งานแตกต่างกัน

-CA สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้งานเบา เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นระหว่าง คศ. 1910-1950 มีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย เช่น สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันคราบเขม่าไปเกาะติดบริเวณลูกสูบผนังลูกสูบและแหวนน้ำมัน

-CB สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา งานเบาปานกลาง มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1949 มีคุณภาพสูงกว่า CA โดยสารคุณภาพดีกว่า CA

-CC สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบ มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1961 ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า CB โดยเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันคราบเขม่า มีสารป้องกันสนิมและกัดกร่อน ไม่ว่าเครื่องยนต์จะร้อนหรือเย็นจัดก็ตาม


-CD สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ.1955 มีคุณภาพสูงกว่า CC

-CD-II สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1988 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร

-CE สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ.1983 มีคุณภาพสูงกว่า CD ป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้อย่างดีเยี่ยม

-CF เป็นมาตรฐานสูงสุดในเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สำหรับเกรดธรรมดา (Mono Grade) เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิด ไม่ว่าจะใช้ งานหนักหรือเบา สามารถใช้แทนในมาตรฐานที่รอง ๆ ลงมา เช่น CE, CD, CC ได้ดีกว่าอีกด้วย

-CF-2 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุนใหม่ 2 จังหวะเริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1994 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร

-CF-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4จังหวะที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนักและรอบจัด เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1990 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม สามารถป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้ดีเยี่ยม -CG-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4จังหวะซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในในปัจจุบัน เริ่มประกาศใชปี 1996 เป็นน้ำมัน เครื่องเกรดรวม


มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ACEA ย่อมาจาก The Association des Constructeurs Europeens d'Automobile หรือเป็นทางการว่า European Automobile Manufarturer' Association สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรบซึ่งได้แก่ ALFA ROMEO, BRITISH LEYLAND, BMW, DAF, DAIMLER-BENZ, FIAT, MAN, PEUGEOT, PORSCHE, RENAULT, VOLKSWAGEN, ROLLS-ROYCE, และ VOLVO ได้มีการกำหนดมาตรฐานโดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 1996 โดยยกเลิกมาตรฐาน CCMC ไปเนื่องจาก ACEA มีสถาบันเข้าร่วมโครงการมากกว่าและมีข้อกำหนดที่เด่นชัด


-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน (Gasoline (Petron) Engines)

       A 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินทั่วไป

       A 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก

       A 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินในปัจจุบัน

 

-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (Light Duty Diesel Engines)

       B 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทั่วไป

       B 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก

       B 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กในปัจจุบัน

-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (Heavy Duty Diesel Engines)

       E 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ทั่วไป

       E 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก

       E 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง JASO ย่อมาจาก Japanese Automobile Standard Organization หรือกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ต่อมาเรียกรวมเป็นมาตรฐาน ISO โดยเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


-เครื่องยนต์เบนซิน

JSE (ISO-L-EJGE) เทียบพอๆ กับมาตรฐาน API SE หรือ CCMC G1 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้น

JSG (ISO-L-EJDD) เทียบกับมาตรรฐานสูงกว่า API SG หรือ CCMC G4 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้นไปอีก


-เครื่องยนต์ดีเซล

JASO CC (ISO -L-EJDC) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 50 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CC เป็นอย่างต่ำ

JASO CD (ISO -L-EJDD) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 100 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CD เป็นอย่างต่ำ

 

มาตรฐานน้ำมันเครื่องแห่งกองทัพสหรัฐ

มาตรฐาน MIL-L-2104 เป็นมาตรฐานของน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดขึ้นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน มีรายละเอียดดังนี้


MIL-L-2104 A ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี 1954 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีกำมะถันต่ำและเครื่องยนต์เบ็นซินทั่ว ๆ ไปเปรียบได้กับมาตรฐาน API CA/SB ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว

MIL-L-2104 B กำหนดใช้เมื่อปี 1964 สำหรับน้ำมันหล่อลื่นทีมีสารเพิ่มคุณภาพด้านการป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดชั่นและป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CC/SC

MIL-L-2104 C กำหนดใช้เมื่อปี 1970 สำหรับน้ำมันหล่ดลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงมาก ๆ และการใช้งานหนัก มีสารป้องกันคราบเขม่า ป้องกันการสึกหรอ และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC

MIL-L-2104 D กำหนดใช้เมื่อปี 1983 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน 4 จังหวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC

MIL-L-2104 E กำหนดใช้เมื่อปี 1988 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน 4 จังหวะ รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CF/SG

มาตรฐาน MIL-L-46152 เริ่มกำหนดใช้เมื่อปี 1970 เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน

MIL-L-46152 A เริ่มใช้เมื่อปี 1980 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซินทั่วไป เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CC

MIL-L-46152 B กำหนดใช้เมื่อปี1981เป็นการรวมมาตรฐาน MIL-L-2104 Bเทียบได้กับมาตรฐาน API SF/CC

MIL-L-46152 C กำหนดใช้เมื่อปี 1987 โดยปรับปรุงจากมาตรฐาน MIL-L-46152 B เพราะมีการเปลียนแปลงวิธีการวัดจุดไหลเทใหม่

MIL-L-46152 D เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงมาจาก MIL-L-46152 C เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบเครื่องยนต์ และมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดนชั่นดีขึ้นกว่าเดิม เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CD

MIL-L-46152 E มาตรฐานล่าสุด เทียบได้กับมาตรฐาน API SG/CE

สำหรับมาตรฐานน้ำมันเครื่องที่รู้จัก ก็คือมาตรฐาน "API" และ "SAE" ซึ่งน้ำมันเครื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะแจ้งมาคู่กันบางยี่ห้อจะบอกค่าดัชนีความหนืดของ "SAE" อย่างเช่น 5W-30, 15W-40 เป็นต้นและจะมีค่ามาตรฐานที่บอกสมรรถนะของน้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นเป็นมาตรฐาน "API" เช่น SE, SF, SG, CC, CD, CE เป็นต้น


                    ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องก็ไม่ควรฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ เลือกใช้ให้เหมาะกับรถก็พอแต่ควรจะเลือกใช้ค่าความหนืดให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและอาศัยการเปลี่ยนถ่ายที่เหมาะสมแก่เวลา ส่วนการเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์นั้นมันก็ดีที่ช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ได้อีกทางแต่มันไม่ค่อยเหมาะสมกับรถที่ใช้งานธรรมดาจะเหมาะกับพวกชอบใช้รอบเครื่องยนต์สูง ๆ ขับซิ่ง ๆยิ่งในเศรษฐกิจแบบนี้ต้องไม่จ่ายแพงกว่า และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้งก็ควรที่จะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องควรคู่กันไปด้วย

 

 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท สยาม โกลบอล ลูบริแคนท์ จำกัด

สำนักงาน: 105/400-401 หมู่4 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000

โทร : 098-9192463 ,089-6612991 ,02-4032562-3 แฟกซ์ : 02-4032564